ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

ปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษ : Operation Paperclip

ปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษ  (อังกฤษ: Operation Paperclip) คือโครงการของสหรัฐอเมริกาที่ได้ดำเนินการนำเหล่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรช่างเทคนิคจากนาซีเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สองเข้ามายังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมอบสัญชาติอเมริกาและทำเอกสารปลอมแปลงให้แก่พวกเขาเพื่อตบตาไม่ให้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแฮร์รี เอส. ทรูแมน นักการเมือง หรือสาธารณชนชาวอเมริการับรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำการทดลองและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากนาซีเยอรมันมาใช้ประโยชน์ทางการทหารให้แก่สหรัฐอเมริกา เช่นจรวด เครื่องบินไอพ่น เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น ซึ่งในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาต้องทำการแข่งขันทางด้านอาวุธกับสหภาพโซเวียต

Operation Paperclip "The Secret Intelligence Program to Bring Nazi"

Operation Paperclip "T he Secret Intelligence Program to Bring Nazi" Operation Paperclip (also Project Paperclip) was the code name for the O.S.S.–U.S. Military rescue of scientists from Nazi Germany, during the terminus and aftermath of World War II. In 1945, the Joint Intelligence Objectives Agency was established with direct responsibility for effecting Operation Paperclip. Following the failure of the German invasion of the Soviet Union (codenamed Operation Barbarossa), and (to a lesser extent) the entry of the U.S. into the war, the strategic position of Germany was at a disadvantage since German military industries were unprepared for a long war. As a result, Germany began efforts in spring 1943 to recall scientists and technical personnel from combat units to places where their skills could be used in research and development: “Overnight, Ph.D.s were liberated from KP duty, masters of science were recalled from orderly service, mathematicians were hauled out o

มาร์โค โปโล: นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เข้าเฝ้า "กุบไลข่าน" แห่งมองโกล

มาร์โค โปโล: นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เข้าเฝ้า  "กุบไลข่าน" แห่งมองโกล           บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล (Marco Polo) ซึ่งเล่าเรื่องราวที่น่าทึ่งและน่าสนใจมากมายในดินแดน ซึ่งยังไม่เคยมีชาวตะวันตกคนใดเคยไปมาก่อน เป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเดินทางทุกยุคทุกสมัยมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 700 ปี สนใจที่จะออกเดินทางไปยังดินแดนอันไกลโพ้นเพื่อค้นพบสิ่งแปลกใหม่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งค้นพบทวีปอเมริกาในศตวรรษที่ 15 ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอ่านบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล ผู้ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องว่า เป็นนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล           มาร์โค โปโล เกิดเมื่อปี 1254 ที่เมืองเวนิส บิดาชื่อ นิโคโล โปโล (Nicolo Polo) เป็นพ่อค้าที่ชอบออกไปค้าขายในต่างแดน ตอนที่มาร์โค โปโลเกิด พ่อและอา มัฟเฟโอ โปโล (Maffeo Polo) ได้ออกเดินทางไปค้าขายในแถบคาบสมุทรไครเมียร์ ทางตอนใต้ของประเทศยูเครนในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในเขตอิทธิพลของมองโกลที่กำลังแผ่อำนาจจากเอเชียกลางมายังทวีปยุโรป ในปี 1260 ได้เกิดสงครามระหว่างหลานของเจงกีสข่าน 2 คน ทำให้พ่อและอาของมาร์โค โปโล ต้องเดินทา

ออกขุนชำนาญใจจง โคลัมบัสแห่งสยามกับการผจญภัยในแอฟริกา

ออกขุนชำนาญใจจง   เป็นนักการทูตสยามที่เดินทางเยือนประเทศฝรั่งเศสและโรมในฐานะคณะทูตในปี ค.ศ. 1688 เขาสืบทอดตำแหน่งคณะทูตจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในปี ค.ศ. 1686 โปรตุเกส (1684) ออกขุนชำนาญใจจงเป็นสมาชิกของคณะทูตชุดแรกที่ถูกส่งไปยังโปรตุเกส โดยออกเดินทางจากสยามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1684 คณะทูตสยามได้เดินทางไปพร้อมกับคณะทูตโปรตุเกสที่กำลังเดินทางกลับจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้ถูกส่งมายังอยุธยาโดยสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส คณะทูตสยามยังได้นำของขวัญเตรียมถวายแด่พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกำลังกำหนดให้มีเอกอัครราชทูตสามคนเดินทางไปเข้าเฝ้า การเดินทางขาไปบนเรือของสยาม บัญชาการโดยกัปตันเรือชาวโปรตุเกสในรัฐกัวหลังจากรอคอยมานานกว่าหนึ่งปี คณะทูตได้เดินทางต่อด้วยเรือโปรตุเกส แต่กลับประสบอุบัติเหตุแตกกลางทะเลนอกแหลมอะกัลลัสเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1686 หลังจากการผจญภัยหลายครั้ง ออกขุนชำนาญใจจงและชาวสยามที่เหลือรอดชีวิตสามารถเดินเท้าผ่านภูมิประเทศต่างๆในแอฟริกาจนไปถึงอาณานิคมดัตช์ที่แหลมกูดโฮปได้ในที่สุด ในเวลาหลายเดือนต่อมา คณะทูตได้เดินทางกลับไปทาง

เมื่อครั้งหนึ่งสยามมีแผนยกทัพขึ้นไปตีถึงกรุงอังวะ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก)

เรื่องสงครามคราวนี้ พระราชพงศาวดารไทยกับพงศาวดารพม่ายุติต้องกันแต่ว่าไทยกับพม่าได้รบกัน แต่ส่วนพลความแตกต่างกันไปหมด ในพงศาวดารพม่าว่าไทยยกไปตีเมืองทวายแลัเมืองเมาะตะมะ เสียทีพม่าต้องเลิกทัพกลับมา ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า ไทยยกกองทัพขึ้นไปถึงราชธานีของพม่า ได้ล้อมเมืองอังวะไว้ แต่ขัดเสบียงอาหารจึงต้องเลิกทัพกลับมา พิเคราะห์ความตามหลักฐานที่มีอยู่ว่าความจริงจะเป็นอย่างข้างไหนก็ตัดสินยาก หลักฐานที่น่าจะสมจริงอย่างข้างพม่าว่ามีอยู่ที่แผนที่ ด้วยเมืองอังวะอยู่ไกลขึ้นไปข้างเหนือมาก ถ้าไทยจะยกกองทัพขึ้นไปจะต้องได้หัวเมืองมอญไว้เป็นกำลังทั้งหมด แล้วยังจะต้องตีเมืองแปร เมืองตองอู และหัวเมืองใหญ่น้อยต่อขึ้นไปอีกหลายเมือง ถึงจะถึงเมืองอังวะ ครั้งสมเด็จพระนเรศวรได้หัวเมืองมอญไว้เป็นกำลังโดยมากแล้ว ก็ตีเพียงเมืองหงสาวดี ครั้นจะเสด็จไปตีเมืองอังวะ ยังเห็นว่าเดินกองทัพไปทางเมืองเชียงใหม่สะดวกกว่า ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เป็นแต่มอญเมืองเมาะตะมะเป็นกบฎต่อพม่า แล้วพากันหนีมาพึ่งไทยหัวเมืองมอญอื่นยังเป็นของพม่า หาได้มาขึ้นกับไทยอย่างแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรไม่ พิเคราะห์ความตามหลักฐานที่ก

สงครามจีน – พม่า ยุทธภูมิสยบมังกร ตอนที่2

สงครามจีน – พม่า ยุทธภูมิสยบมังกร ตอนที่2 หลังทรงทราบข่าวความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ย จักรพรรดิทรงตกพระทัยและกริ้วยิ่งนัก จึงทรงมีรับสั่งเรียกตัวองคมนตรีฟู่เหิง ซึ่งเป็นลุงของหมิงรุ่ย ผู้เคยมีประสบการณ์ในการรบกับมองโกล พร้อมด้วยแม่ทัพแมนจูอีกหลายนาย เช่น เสนาบดีกรมกลาโหม อากุ้ย แม่ทัพอาหลีกุ่น รวมทั้งเอ้อหนิง สมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว ให้เตรียมการยกทัพเข้าโจมตีพม่าเป็นครั้งที่สี่ โดยอาศัยกำลังทั้งจากทัพแปดกองธงและกองธงเขียว       ปี ค.ศ.1769 หลังเตรียมการพร้อมสรรพ ฟู่เหิงก็นำทัพมุ่งสู่แดนพม่า โดยแบ่งเป็นทัพบกและทัพเรือ โดยทัพบกเคลื่อนมาทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิระวดี ส่วนทัพเรือล่องมาตามแม่น้ำ โดยมีกำลังพลทั้งสิ้นหกหมื่นคน ประกอบด้วยทหารแปดธงสี่หมื่นและทัพธงเขียวกับทหารไทใหญ่อีกสองหมื่น       ฝ่ายพม่านั้น พระเจ้ามังระโปรดให้ อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพใหญ่ มีพลามินดินเป็นผู้ช่วย โดยยุทธศาสตร์หลักคือ ต้องยันทัพชิงไว้ที่ชายแดน ไม่ให้บุกลึกเข้ามาในพม่าได้อีก นอกจากนี้ ฝ่ายพม่ายังเตรียมกองทัพเรือเพื่อสู้ศึกกับทัพเรือต้าชิงและเสริมกำลังด้วยกองทหารปืนใหญ่ชาวฝรั่งเศส ที่นำ ปีแอร์ เดอ มิ

สงครามจีน – พม่า ยุทธภูมิสยบมังกร ตอนที่1

สงครามจีน – พม่า ยุทธภูมิสยบมังกร สงครามจีน-พม่า หรือ การบุกครองพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (อังกฤษ: Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty) เป็นการสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน กับราชวงศ์คองบองของพม่า กินเวลา 4 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1765-1769 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง กับพระเจ้ามังระ การสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ค.ศ. 1767 ที่อาณาจักรอยุธยาเสียเอกราชแก่ราชวงศ์คองบองของพม่าจนสิ้นสภาพเดิม ในพงศาวดารพม่าระบุว่า พระเจ้ามังระมีพระราชสาส์นให้นายทหารและแม่ทัพในสงครามคราวนี่เร่งรีบกระทำการ และรีบเดินทางกลับพระนครอังวะ เพื่อที่จะเตรียมการรับสงครามคราวนี้ เหตุแห่งสงคราม มีที่มาจากพรมแดนระหว่างจีนกับพม่าทางมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ซึ่งเคยมีปัญหามาก่อนตั้งแต่ ในยุคราชวงศ์ที่สองของพม่า คือ ราชวงศ์ตองอู ซึ่งตรงกับราชวงศ์หมิงอันเป็นราชวงศ์ของชาวจีนแท้ๆ พม่ากับจีนได้มีการทำสงครามกันหลายครั้ง โดยมากจะเป็นการปะทะกันบริเวณชายแดนแถบสิบสองปันนา จนกระทั่งถึงช่วงที่ราชวงศ์หมิงได้ล่มสลาย อู๋ซานกุ้ยแม่ทัพจีนที่

เผยความลับ!!..เกาะคำชะโนด ทำไมเคยลอยน้ำได้ หรือเป็นเพราะปาฏิหาริย์พญานาค!?

เผยความลับ!! เกาะคำชะโนด ทำไมเคยลอยน้ำได้ เป็นเพราะปาฏิหาริย์พญานาค!? เกาะคำชะโนด เป็นป่าที่มีพืชจำพวกปาล์ม ความยาวประมาณ 200 เมตรมีลักษณะเป็นเกาะลอยน้ำ คล้ายทุ่งนา  ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ชื่อวัดศิริสุทโธ มีชื่อเรียกหลายอย่างอาทิ ป่าคำชะโนด เมืองชะโนด บ้างเรียกว่า วังนาคินทร์คำชะโนด ปัจจุบันเป็นสถานที่ยึดเหนียวจิตใจชาวบ้าน ผู้ศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ากราบไว้บูชาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสถานที่สิ่งสถิตของพญานาค และสิ่งเร้นลับ ป่าคำชะโนด เป็นอีกสถานที่ที่เชื่อว่า น้ำไม่ท่วมเลยสักครั้ง กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เกาะคำชะโนด น้ำท่วมแบบไม่เคยเป็นมาก่อน วันนี้เราจึงนำข้อมูลสาเหตุ "เกาะคำชะโนด" ทำไมไม่จมน้ำมาให้ทราบกัน สาเหตุทางวิทยาศาสตร์ คาดว่าเป็นเพาะต้นคำชะโนดและต้นไม้บริเวณรอบๆทับถมกันจนเป็นแพและกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ ต้นไม้ที่เกิดใหม่ก็เจริญเติบโตเป็นชั้นๆ เวลาผ่านไปเป็นสิบเป็นร้อยปี พอน้ำท่วมจึงลอยน้ำได้ สาเหตุทางความเชื่อ คาดกันว่าเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์พญานาคนั้นเอง อย่างไรก็ตามหลังจาก

เจ้าพระยาบวรราชนายก(เฉกอะหมัด) ต้นสกุลบุนนาค มาจากแขกเปอร์เซีย

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลปาอีเนะชาฮาร ในเมืองกุม ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนที่ราบต่ำทางตอนเหนือของเตหะราน ในประเทศอิหร่าน การเดินทางสู่กรุงศรีอยุธยา ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยานั้น เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วงๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก จากนั้น เดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล จากนั้นลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉกอะหมัดและบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน ได้แก่ เป็นชายชื่อ ชื่น ซึ่ง